6.03.2554

6 : หลักมนุษยสัมพันธ์ ตอนที่ 2



ความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์กับงานเลขานุการ


  งานเลขานุการ จะต้องติดต่อกับบุคคลหลายระดับ แบ่งได้ 4 ระดับ ดังนี้
1. ด้านสูงขึ้นไป ได้แก่ ผู้บังคับบัญชาโดยตรง/ลำดับขั้น
2. ด้านซ้ายมือ ได้แก่ เพื่อนร่วมงาน ทั้งในกลุ่มงานและต่างกลุ่มงาน
3. ด้านขวามือ ได้แก่ บุคคลภายนอกที่มาติดต่อกับหน่วยงาน
4. ด้านล่าง ได้แก่ ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือบุคคลระดับต่ำกว่า

   ซึ่งบุคคลแต่ละระดับ ก็จะมีหลักในการสร้างมนุษยสัมพันธ์แตกต่างกัน ดังนี้

1. หลักในการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลระดับสูงขึ้นไป
   - ปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด
   - สังเกตอุปนิสัยในการทำงานของนาย
   - เคารพ สรรเสริญ ตามความเหมาะสม
   - ให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์
   - รู้จัก จังหวะ เวลาและโอกาสในการเข้าพบ
   - ไม่แสดงสีหน้าไม่พอใจ รู้จักเก็บอาการ ไม่โต้แย้งอย่างไร้เหตุผล
   - หลีกเลี่ยงการประจบ สอพลอ แต่ควรเอาใจใส่

2. หลักในการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลด้านซ้ายมือ
   - เข้าหาก่อน โดยการยิ้ม หรือสวัสดีทักทาย
   - มีความจริงใจ เห็นอกเห็นใจเมื่อเขามีเรื่องไม่สบายใจ
   - ไม่นินทา ถากถาง เพื่อนร่วมงาน
   - เสมอต้นเสมอปลาย
   - ยกย่องสรรเสริญในบางโอกาส
   - ให้ความร่วมมือในการงาน
   - รับฟังความคิดเห็น
   - พบปะสังสรรค์กันบ้าง
   - ไม่โยนความผิด
   - ไม่แทรกแทรงเรื่องส่วนตัว

3. หลักในการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลด้านขวามือ
   - นุ่มนวล สุภาพ เรียบร้อย
   - อ่อนน้อมถ่อมตน
   - มีความเป็นมิตร ไม่ถือตัว เข้ากับคนได้ทุกระดับ
   - ให้ความช่วยเหลือเท่าที่ทำได้
   - มีความจำดี ควารจำหน้าและชื่อผู้ที่มาติดต่อ
   - รู้จักการเจรจาที่ดี

4. หลักในการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลด้านล่าง
   - รู้จักควบคุมอารมณ์
   - ชี้แจงเหตุผล นโยบาย และข่าวสารให้ลูกน้อง
   - มีความยุติธรรม
   - รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา เห็นอกเห็นใจ
   - ยกย่องชมเชย ให้รางวัลเมื่อลูกน้องทำดี
   - ให้การอบรมและพัฒนาลูกน้อง
   - ใช้ศิลปะในการวิพากษ์วิจารณ์ ติเพื่อก่อ
   - ดูแลเรื่องสวัสดิการ รักษาผลประโยชน์
   - ให้ความเป็นกันเอง ไม่กดดันลูกน้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น